10151 ไทยศึกษา มสธ. สรุป
หน่วยที่ 1 พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย
ตอนที่ 1.1 ข้อพินิจเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ควรจะมีความเข้าใจ
พื้นฐานเกี่ยวกับขอบข่ายและความหมายของ
“สังคม” และ “วัฒนธรรม” ดังนี้
สังคม กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนร่วมกันเป็นเวลานาน
มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมีการกำหนดแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ยึดถือร่วมกัน
วัฒนธรรม แบบแผนการดำเนินชีวิตที่สร้างสรรค์ขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ปัจจัยที่มิอิทธิพลต่อพัฒนาการทางประะวัติศาสตร์
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. สภาพภูมิศาสตร์
2. ด้านวัฒนธรรม
3. ปัจเจกบุคคล
1. สภาพภูมิศาสตร์
ที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย มี 3 ประการ
ดังนี้
การเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เกือบทุกภาค
เปิดกว้างต่อการตั้งถิ่นฐาน มีการผสมผสานด้านเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรม
จนพัฒนาเป็นวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน
การเปิดกว้างต่อการรับวัฒนธรรมอื่นจากต่างประเทศ
เนื่องจากทำเลที่ตั้งของประเทศไทยติดต่อกับดินแดนอื่น ๆ ได้สะดวกทั้งทางบก
และทางทะเล รวมทั้งได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลด้วย
การเป็นดินแดนเปิด
ทำให้มีศักยภาพในการปรับประเทศให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่หลั่งไหลเข้ามา